Last updated: 27 มิ.ย. 2567 | 55 จำนวนผู้เข้าชม |
ในฤดูฝน อากาศจะชื้น อุณหภูมิจะลดลงเป็นบางช่วง การแพร่ระบาดของโรคติดต่อก็มีมากขึ้นเพราะเชื้อโรคหลายชนิดเติบโตได้อย่างรวดเร็ว และเมื่ออากาศเปลี่ยน ภูมิคุ้มกันในร่างกายของเราอาจลดลงจนทำให้เมื่อมีการติดเชื้อจึงป่วยง่ายขึ้น ซึ่งโรคติดเชื้อที่มักมากับหน้าฝนนั้น เกิดขึ้นได้กับหลายระบบของร่างกาย จะพาไปรู้จักโรคอีกกลุ่มคือโรคที่มากับยุง ได้แก่
ไข้เลือดออก เกิดจากการติดเชื้อไวรัสไข้เลือดออก หรือ เดงกี (dengue) ที่อยู่ในน้ำลายของยุงลายที่วางไข่บนน้ำนิ่งที่อาจค้างอยู่ในภาชนะหลังฝนตก โดยหากถูกยุงลายกัดจะทำให้ได้รับเชื้อและเป็นไข้เลือดออกได้
จะมีอาการไข้สูงลอย ปวดเมื่อยตามตัว ปวดศีรษะ ปวดข้อ โดยไม่พบอาการติดเชื้อเฉพาะที่ที่ชัดเจน แพทย์สามารถวินิจฉัยไข้เลือดออกโดยการเจาะเลือดเพื่อตรวจดูปริมาณและชนิดของเม็ดเลือดขาว ปริมาณเกล็ดเลือดแอนติเจน หรือแอนติบอดีต่อเชื้อ
การป้องกัน
ไข้ปวดข้อยุงลาย หรือโรคชิคุนกุนยา เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส Chikungunya โดยมีพาหะเป็นยุงลายเช่นเดียวกับไข้เลือดออกอาการของไข้ปวดข้อยุงลาย จะใกล้เคียงกับโรคไข้เลือดออก แต่มีความรุนแรงต่ำกว่า ผู้ป่วยจะมีไข้ และอาจมีผื่น ส่วนอาการที่อาจพบได้ค่อนข้างจำเพาะกับโรคนี้ ได้แก่ อาการปวดตามข้อต่างๆ หลังหายจากการติดเชื้อ
การป้องกัน
การป้องกันไข้ปวดข้อยุงลาย ทำได้โดยพยายามเลี่ยงไม่ถูกยุงกัด เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคนี้
ไข้ซิกา เกิดจากเชื้อไวรัส zika และมียุงลายเป็นพาหะเช่นกัน
อาการของไข้ซิกา มีลักษณะใกล้เคียงกับสองโรคที่กล่าวไป แต่ไม่มีความรุนแรงมากนัก โดยมีไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว แต่ที่เด่นอาจพบตาแดง หรือพบทารกมีขนาดศีรษะเล็กในหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อนี้ได้ ในปัจจุบันยังไม่มียารักษา และเป็นเพียงรักษาตามอากา
การป้องกัน
ไข้ซิกา ทำได้โดยการหลีกเลี่ยงยุงกัด หรือหลีกเลี่ยงเดินทางไปยังถิ่นระบาด เช่น ประเทศในทวีปอเมริกาใต้
การดูเเลตัวเองในช่วงฤดูฝน มีดังนี้
เเหล่งข้อมูล:รศ.นพ.จักรพงษ์ บรูมินเหนทร์ สาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
6 โรคติดเชื้อที่ต้องระวังในช่วงฤดูฝน ตอน 2:ไทยรัฐ
4 พ.ย. 2567
15 พ.ย. 2567
31 ต.ค. 2567