ภาวะนอนไม่หลับ (Insomnia)

Last updated: 3 ก.ค. 2567  |  56 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ภาวะนอนไม่หลับ (Insomnia)

   โรคนอนไม่หลับเป็นปัญหาที่พบได้ทุกวัย ทุกอายุ เกิดขึ้นได้บ่อย ตามข้อมูลการศึกษาพบได้ถึง ร้อยละ30-35 ของผู้ใหญ่ พบภาวะดังกล่าวพบได้บ่อยในวัยผู้สูงอายุ, ผู้ป่วยที่มีปัญหาเจ็บป่วยทางร่างกายหรือจิตใจ  ผู้ป่วยจะมีปัญหานอนไม่หลับทั้งๆที่มีโอกาสเพียงพอสำหรับการนอน  ผลของการนอนไม่หลับทำให้ร่างกายเกิดความอ่อนเพลีย, ปวดศีรษะ, จิตใจเกิดความกังวลหรือมีผลต่อการคิดการตัดสินใจและการทำงานในช่วงกลางวัน

  • ภาวะนอนไม่หลับ คืออะไร

    ภาวะนอนไม่หลับ เป็นภาวะที่พบได้บ่อยของปัญหาการนอนหลับ โดยคนที่มีภาวะนี้จะมีปัญหานอนไม่หลับ หรือใช้เวลานานกว่าจะนอนหลับตั้งแต่ต้นของการเข้านอน หรือในคนที่สามารถนอนหลับได้ตั้งแต่ต้น แต่ต้องตื่นมากลางดึกและไม่สามารถนอนต่อได้ ซึ่งคนที่มีภาวะนี้จะมีอาการใดอาการหนึ่ง หรือทั้งสองอาการร่วมกัน ได้แก่

  • เข้านอนแล้ว นอนไม่หลับ หรือใช้เวลานานกว่าจะสามารถหลับได้
  • สามารถนอนหลับได้เมื่อเข้านอน แต่ต้องตื่นมากลางดึกและไม่สามารถนอนต่อได้

 

ภาวะนอนไม่หลับมีสาเหตุจากอะไรบ้าง

แบ่งเป็นสาเหตุหลักๆได้ 2 สาเหตุ

1.สาเหตุทางด้านจิตใจ และโรคทางจิตเวช หรือความเครียดวิตกกังวล
2.สาเหตุจากความผิดปกติทางด้านร่างกาย ตัวอย่างที่พบได้บ่อย เช่น

– โรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น

– การกระตุกของขาหรือแขนในระหว่างหลับจนเกิดการรบกวนการนอน

– อาการปวดตามร่างกาย เช่น ปวดตามข้อ, ปวดกล้ามเนื้อ

 

ภาวะใดบ้างที่ทำให้นอนไม่หลับ

มีหลายภาวะที่ส่งเสริมทำให้นอนไม่หลับ

1.การนอนไม่หลับจากสารกระตุ้นบางชนิด เช่น ชา กาแฟ
2.ภาวะที่ระดับ เมลาโทนิน (melatonin) ลดลง โดยสารเมลาโทนินนี้จะหลั่งเพื่อกระตุ้นให้เกิดการนอนหลับ ซึ่งพบว่าอายุที่มากขึ้นจะทำให้การหลั่งของสารชนิดนี้ลดลง
3.การได้รับแสงกระตุ้น เช่นการรับแสงในช่วงเย็น หรือแสงจากโทรทัศน์ โทรศัพท์มือถือที่เปิดใช้ช่วงก่อนการเข้านอน
4.การเข้านอนและตื่นนอนไม่เป็นเวลา
5.การออกกำลังกายใกล้เวลาเข้านอน
6.สิ่งแวดล้อมในห้องนอนไม่เหมาะสม เช่นสว่างเกินไป ร้อนหรือหนาวเกินไป

 

 

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้