แสงแดดคืออะไร รังสีอัลตร้าไวโอเลตส่งผลกระทบต่อผิวอย่างไร ?

Last updated: 24 ก.ค. 2567  |  68 จำนวนผู้เข้าชม  | 

แสงแดดคืออะไร รังสีอัลตร้าไวโอเลตส่งผลกระทบต่อผิวอย่างไร ?

 แสงแดดเป็นแหล่งที่มาของพลังงานทั้งหมด และมีประโยชน์มากมายต่อการดำรงชีวิต เช่น มีส่วนช่วยในการผลิตวิตามินดีในมนุษย์ และมีรังสีอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet) หรือรังสียูวี (UV) อย่างไรก็ตามเช่นเดียวกับกระบวนการทางชีวภาพทั่วไปที่ต้องการความสมดุล นั่นคือ แสงแดดเป็นสิ่งที่ดี แต่ก็มีขีดจำกัด เพราะเมื่อได้รับรังสียูวี (UV) ที่มากับแสงแดดมากเกินไปก็อาจเป็นอันตรายต่อผิวได้เช่นกัน

แสงแดดคืออะไร ?

แสงแดดประกอบด้วยคลื่นความถี่ของรังสี ที่แตกต่างกันตามความยาวคลื่น แสงที่มองเห็นมีความยาวคลื่นในช่วง 400-700 นาโนเมตรในขณะที่แสงที่มองไม่เห็น ที่สำคัญได้แก่ รังสีอัลตราไวโอเลต (UV) มีความยาวคลื่นสั้นในช่วง 280-400 นาโนเมตร และแสงอินฟราเรดมีความยาวคลื่นยาวอยู่ในช่วง 700 นาโนเมตร - 1 มม. รังสีที่มีความยาวคลื่นยาว ทั้งแสงที่มองเห็น และอินฟราเรดในแสงแดด มีโอกาสที่จะเจาะลึกลงไปก่อให้เกิดความเสียหายในผิวได้น้อย

รูปภาพจาก:GETTY IMAGES

ยูวีคืออะไร ?

รังสียูวี คือชื่อย่อของ รังสีอุลตราไวโอเลต เป็นหนึ่งในรูปแบบของรังสีแม่เหล็กไฟฟ้า โดยมีช่วงความยาวคลื่นสั้นกว่าคลื่นแสงที่สายตามนุษย์จะมองเห็นได้ จึงทำให้มนุษย์ต้องผลิตเครื่องมือเพื่อตรวจวัดรังสีอุลตราไวโอเลตขึ้นมา รังสียูวีสามารถพบได้ทั้งในธรรมชาติ อย่างแสงแดดจากดวงอาทิตย์ และสิ่งประดิษฐ์ที่มนุษย์สร้างขึ้นมา เช่น หลอดไฟแบล็กไลท์ ตู้อบผิวแทน หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ และเลเซอร์ยูวี เป็นต้น

รังสียูวีแปลตรงตัวตามชื่อได้ว่า เหนือสีม่วง เนื่องจากเป็นรังสีที่มีตำแหน่งอยู่เหนือสีม่วงในสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้า โดยรังสียูวีสามารถทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมี และยังให้เกิดการเรืองแสงในสารเคมีหลายชนิด และที่สำคัญ รังสียูวีทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพันธะเคมีในระดับโมเลกุลของได้

สำหรับมนุษย์ รังสียูวีอาจก่อให้เกิดอาการเกรียมแดด ที่ส่งผลให้เกิดการแสบร้อนตามผิวหนัง และหากได้รับรังสียูวีในปริมาณมากเกินไปอาจให้เนื้อเยื่อผิวหนังเสียหาย และมีโอกาสเกิดมะเร็งผิวหนัง

บทบาทของรังสียูวีต่อการดำรงชีวิตประจำวันมนุษย์

โลกของเรามีแหล่งกำเนิดรังสียูวีที่ใหญ่ที่สุดคือ ดวงอาทิตย์ และเมื่อมนุษย์ได้ศึกษาเกี่ยวกับรังสียูวีมากขึ้นจังได้พบวิธีการประยุกต์ใช้รังสียูวีในด้านต่างๆ เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิต รังสียูวีจึงแพร่หลายในอุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งการแพทย์และความงาม การผลิตอาหารและยา และอุตสาหกรรมการผลิตหลอดไฟ โดยในทางการแพทย์และอุตสาหกรรมอาหารมักใช้รังสียูสำหรับการฆ่าเชื้อ แบคทีเรีย และไวรัสต่างๆ โดยใช้คลื่นความยาวคลื่นที่ 100-400 นาโนเมตร เพื่อวัตถุประสงค์การใช้งานที่แตกต่างกัน

แสงยูวีความยาวคลื่นสั้นซึ่งทะลุเข้าเซลล์ผิวได้ก่อให้เกิดปฏิกิริยาจากอนุมูลอิสระได้สูงอนุมูลอิสระที่มากเกินไป(โมเลกุลออกซิเจน) ก่อให้เกิดความเสียหายของเซลล์ขึ้น สาเหตุของการเกิดริ้วรอย ความเจ็บป่วยเรื้อรัง และโรคอื่น ๆ รวมถึงโรคมะเร็งผิวหนัง  ภาวะ Oxidative Stress มีสาเหตุมาจากความไม่สมดุลระหว่างการผลิตอนุมูลอิสระ และความสามารถของร่างกายในการต่อต้านอนุมูลอิสระด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ สำหรับแสงยูวีในแสงแดดจะมีความยาวคลื่นสั้น จะสามารถเจาะผ่านชั้น Stratum corneum, ชั้นหนังกำพร้า และชั้นหนังแท้ (Upper layers) แต่ไม่สามารถเจาะผ่านชั้น Hypodermis (Lower layer) ได้  อย่างไรก็ตามก็สามารถก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนภายในเนื้อเยื่อเหล่านี้ได้

รังสียูวีอันตรายจริงหรือไม่ ?

สำหรับมนุษย์ นอกจากรังสียูวีจะให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเกรียมแดดแล้ว ยังรบกวนการทำงานของแอนติเจนในร่างกาย ทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายลดต่ำลง เหนี่ยวนำให้เกิดเซลล์มะเร็ง และอายุเซลล์สั้นลง

ในทางกลับกัน หากร่างกายได้รับปริมาณรังสียูวีที่เหมาะสม จะช่วยให้ร่างกายสามารถรัษาสมดุลของอุณภูมิไว้ได้ และกระตุ้นให้ร่างกายเกิดกระบวนการสังเคราะห์วิตามินดีจากคอเลสเตอรอลที่อยู่ในชั้นผิวหนัง ซึ่งมีส่วนเสริมสร้างกระดูกและฟันที่แข็งแรง รวมไปถึงการทำงานของกล้ามเนื้อโครงร่างอย่างมีประสิทธิภาพ

การปกป้องผิวจากอัลตราไวโอเลตในแสงแดด

แสงแดดล้วนมีอันตรายต่อผิว แต่ความเข้มของรังสียูวีเอนั้นค่อนข้างคงที่ตลอดทั้งวัน ในขณะที่ความรุนแรงของรังสียูวีบีขึ้นกับสภาพแวดล้อม ระบบการจัดอันดับ ปัจจัยป้องกันแสงแดด (SPF) สำหรับครีมกันแดดนั้นจะขึ้นอยู่กับระดับของการป้องกันยูวีบีของผลิตภัณฑ์ แต่ผลิตภัณฑ์ที่มีสัญลักษณ์การป้องกันรังสียูวีเอ ต้องมีความสามารถในการป้องกันรังสียูวีเอ อย่างน้อยที่สุดในอัตราส่วน 1:3 (ความสามารถในการป้องกันรังสียูวีเอ:ความสามารถในการป้องกันรังสียูวีบี)

ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทราบถึงความเข้มของแสงยูวีในพื้นที่ที่คุณต้องอยู่ในแต่ละวัน เพื่อที่จะเลือกใช้ระดับการปกป้องรังสียูวีได้อย่างเหมาะสม

นอกจากนี้สมาคมการค้าเครื่องสำอางยุโรป (Colipa) ยังได้กำหนดมาตรฐานของครีมกันแดดในการป้องกันรังสียูวี มาตรฐานสากล ISO 24444-2010 เป็นวิธีการที่น่าเชื่อถือในการทดสอบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์กันแดดในการป้องกันรังสียูวี และอยู่ในแนวทางเดียวกันกับคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป

รูปภาพจาก:ภาพถ่าย Serge Kutuzov

แนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับรังสียูวี

เนื่องจากรังสียูวีได้ประยุต์ใช้ในการฆ่าเชื้ออย่างแพร่หลาย บวกกับปัจจัยเรื่องการระบาดใหญ่ที่ผ่านมา ปัจจุบัน นักวิทยาสศาสตร์ได้พยายามพัฒนารังสียูวีในประเภทต่างๆ ที่สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัยมากขึ้น อย่างหลอดไฟที่ปล่อยรังสียูวีซี (UVC) นักวิทยาศาสตร์รู้มานานหลายทศวรรษแล้วว่า แสงยูวีชนิดหนึ่งที่เรียกว่าแสง UVC สามารถฆ่าจุลินทรีย์ รวมทั้งแบคทีเรียและไวรัสได้อย่างรวดเร็ว แต่แสง UVC ไม่สามารถใช้โดยตรงเพื่อทำลายไวรัสในอากาศภายในพื้นที่ที่มีคนอาศัยอยู่ได้ เนื่องจากอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพต่อผิวหนังและดวงตา ในขณะเดียวกัน การฆ่าเชื้อด้วยรังสียูวีไม่ทิ้งสารตกค้างที่เป็นมลพิษในสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นจุดเด่นที่แตกต่างจากการใช้สารเคมีฆ่าเชื้อ ดังนั้น การใช้รังสียูวีจึงเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับการปกป้องเชื้อโรค แต่ต้องเกิดขึ้นพร้อมกับแนวปฏิบัติเรื่องความปลอดภัยต่อสุขภาพของมนุษย์



เเหล่งข้อมูลอ้างอิง

https://www.bbc.com/thai/articles/cp9v7p7vw71o (ทำความเข้าใจระดับดัชนีรังสียูวีและวิธีป้องกันตัวเอง)

https://ngthai.com/science/48362/uv/ (เรื่องราวเหนือแสงสีม่วง: รังสียูวี ที่อยู่กับโลกมนุษย์ตั้งแต่มีแสงสว่าง)

https://www.eucerin.co.th/about-skin/basic-skin-knowledge/sun-and-the-skin (แสงแดดคืออะไร รังสีอัลตร้าไวโอเลตส่งผลกระทบต่อผิวอย่างไร ?)

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้