Last updated: 10 พ.ค. 2567 | 252 จำนวนผู้เข้าชม |
การนวดเท้าช่วยให้สุขภาพดีขึ้นจริงหรอ ?
การนวดเท้า หรือการนวดจุดฝ่าเท้า เป็นศาสตร์ที่ยาวนานและเก่าแก่ มีแหล่งกำเนิดที่ไม่ชัดเจน และมีการพบหลักฐานการนวดเท้า หรือการนวดกดจุดฝ่าเท้าในประเทศอินเดีย และ จีนเมื่อ 5000 ปี ก่อนคริสต์กาล สำหรับการนวดกดจุดฝ่าเท้าที่ประเทศจีน เชื่อว่าน่าจะถือกำเนิดมาพร้อมกับการกดจุดฝังเข็ม และการพบภาพบันทึกการนวดจุดฝ่าเท้าที่ประเทศอียิปต์เกิดขึ้นอีกด้วยเมื่อ 2330 ปีก่อนคริสต์กาล และพบการนวดจุดฝ่าเท้าในคนอเมริกันอินเดียอีกด้วย ต่อมาในศตวรรษที่ 19 ดร. วิลเลี่ยม ฟิตซ์เจอรัล ได้ค้นพบจุดต่างๆ บนฝ่ามือของคนเราที่ช่วยลดอาการชาได้ดี และเรียกจุดต่างๆเหล่านี้ว่าเป็นโซนบำบัด (Zone Therapy) และแบ่งออกเป็น 10 โซน โดยโซนเหล่านี้จะทอดผ่านร่างกายทั้งหมดศครีษะถึงเท้า และจะช่วยบรรเทาอาการปวดอวัยวะบริเวณอื่น ๆ ที่อยู่ในโซนเดียวกัน ในเวลาต่อมายูนิช อิงแฮม ได้เกิดการค้นพบว่า เท้าสามารถตอบนสองต่อการกดจุด ได้มากกว่ามือ จึงใช้เท้าเป็นการบำบัดรักษา และได้พัฒนาแผนผังอวัยวะการนวดกดจุดสะท้อนเท้าที่อยู่บนฝ่าเท้าขึ้นมา
การนวดนวกกดจุดฝ่าเท้าช่วยบรรเทาอาการปวดจริงหรอ ?
เนื่องจากการนวดเท้าจุดฝ่าเท้ามีผลที่ดีต่อร่างกาย และสุขภาพจิตใจ รวมทั้งส่งผลต่อระบบการทำงานต่าง ๆ ในร่างกาย สำหรับผลของการนวดจุดฝ่าเท้าอย่างเฉพาะเจาจง เช่น ในการช่วยคลายอาการปวด เมื่อยล้า เป็นต้น การนวดจุดฝ่าเท้ายังทำให้รู้สึกผ่อนคลาย นอนหลับได้ กล้ามเนื้อเกร็งตัวลดลง ความปวดที่ทรมานจะลดลง ช่วยในเรื่องของการท้องอืด และผายลมได้ เมื่อมีอาการแน่นท้อง ความดันโลหิต ชีพจร และ การหายใจ
ประโยชน์ของการนวดเท้า หรือการนวดกดจุดสะท้อนเท้า
1.เพิ่มการทำงานของกล้ามเนื้อ ข้อดี เส้นเอ็น
เนื่องจากจากเท้านั้นเป็นอวัยวะที่ได้รับแรงกดและน้ำหนักของร่างกายที่ต้องรับน้ำหนักตัวอยู่ตลอดเวลา การนวดเท้าจึงถือเป็นการยืดหยุ่น และ ช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ข้อต่อ เส้นเอ็น เพื่อให้กลับมาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้การเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวันกลับมาดีขึ้น
2.คลายเครียด ผ่อนคลายสุขภาพจิต
การนวดเท้าเหมือนการสปาเท้านั่นเอง ซึ่งจะช่วยผ่อนคลายร่างกาย ซึ่งในทางการแพทย์จีนนั้นเชื่อกันว่าฝ่าเท้านั้นมีจุดเชื่อมโยงมากมายต่อประสาททั้งร่างกายไปจนถึงสมอง บรรเทาอาการปวดหัวไมเกรน และ ช่วยให้สมองได้พักผ่อน นอนหลับได้ดีขึ้น
3.ปรับระบบร่างกาย และ ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต
การนวดจะช่วยกระกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด และ ต่อมน้ำเหลืองมาที่กล้ามเนื้อบริเวณฝ่าเท้า ที่เป็นจุดรวมประสาท ส่งผลให้อวัยวะภายในทำงานได้ดีขึ้น ปรับสมดุลให้ระบบการทำงานของร่างกายรวมถึงสุขภาพดีขึ้น ซึ่งจะเห็นผลได้ชัดเจนที่สุดในกลุ่มผู้สูงอายุที่ไม่ได้ขยับร่างกาย เท่าคนหนุ่มสาว
ข้อควรห้าม ภาวะที่ไม่ควรนวดเท้า
1.หญิงตั้งครรภ์ที่อยู่ในสภาวะเสี่ยง
2.ผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือด หลอดน้ำเหลืองอักเสบ หรือหลอดเลือดอุตตัน
3.ไม่ควรนวดในขณะที่ท้องว่าง หรือ อิ่มมากจนเกินไป
4.ผู้ที่เป็นโรคผิวหนังในบริเวณเท้า หรือ โรคติดเชื้อ
5.ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดบริเวณเท้า ผู้ป่วยหนัก หรือ ผู้ที่กระดูกแตกในบริเวณเท้าหรือขา
เอกสาาอ้างอิง
1. วันดี กฤษณะ. ชุมนุมเเพทย์เเผนไทยเเละสมุนไพรเเห่งชาติ ครั้งที่3 สถาบันการเเพทย์เเผนไทย กรมการเเพทย์กระทรวงสาธารณสุข.