"เเกงเเค" อาหารเหนือสุขภาพ ที่มีดีมากกว่าความอร่อย?

Last updated: 10 พ.ค. 2567  |  118 จำนวนผู้เข้าชม  | 

"เเกงเเค" อาหารเหนือสุขภาพ ที่มีดีมากกว่าความอร่อย?

"ภาคเหนือ" เป็นภูมิภาคที่อยู่ทางตอนบนสุดของเเผนที่ประเทศไทย ที่มากไปด้วยวัฒนธรรม เเละธรรมชาติที่มีความหลากหลายทางด้านพืชพรรณ ผลไม้เเละอาหาร

 

 

 

หากจะกล่าวถึงภาคเหนือ เเขกที่มาเยือนภูมิภาคเเห่งนี้เเล้วสิ่งที่จะขาดไม่ได้เลยคือ "อาหารเหนือ" หรือคนภาคเหนือเรียกว่า "ของกิ๋นเมือง" 

ด้วยความที่อยู่ทางตอนบนสุด จึงมีเเหล่งพืชพรรณที่เหมาะเเก่การนำมาประกอบอาหารได้หลากหลาย อาหารที่มีส่วนประกอบเป็นผักพื้นบ้านหลากหลายเเละผักป่านั้นคือเมนู "เเกงเเค" เมนูอาหารเหนือที่ขึ้นชื่อในเรื่องของผักเเละเนื้อสัตว์ที่เข้ากัน 

 

 

 

"เเกงเเค" เป็นแกงที่ประกอบด้วยผักหลายชนิด และมีเนื้อสัตว์เป็นส่วนผสมด้วยหนึ่งอย่าง เรียกชื่อแกงแคตามชนิดของเนื้อสัตว์ที่นำมาเป็นส่วนผสมนั้น เช่น แกงแคไก่ แกงแคกบ แกงแคปลาแห้ง ผักที่เป็นส่วนผสมหลัก ส่วนใหญ่ประกอบด้วย ผักตำลึง ผักชะอม ใบชะพลู ผักชีฝรั่ง มะเขือพวง เห็ดลมอ่อน ผักเผ็ด และดอกแค 

เสน่ห์ของเเกงชนิดนี้คือเเกงที่มีความหลากหลายของผักเเละกลิ่นหอมอ่อนๆของใบชะพลู ซึ่งต้องใส่มากให้ออกกลิ่นหอมชัดๆ เช่นท่านที่ต้องการความหอมของผักหวานป่านั้น ผักหวานป่าในปริมาณมากที่ให้กลิ่นอวลในหม้อรองลงมาจากกลิ่นใบชะพลู หรือถ้าแกงแคผักรวม ก็คือใส่ผักสารพันบรรดามีลงไปตามชอบ หากแต่ก็จะยังมีกลิ่นนำเป็นกลิ่นชะพลูซึ่งกลิ่นใบชะพลูนั้นคือหัวใจหลักของเเกงเเคนั้นเอง 

เเกงเเค คุณค่าทางด้านโภชนาการ

เเกงเเคเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ เพราะให้สารอาหารอย่างมาก เเถมยังให้พลังงานที่ต่ำ จึงเหมาะอย่างยิ่ง สำหรับผู้ต้องการควบคุมน้ำหนักตัว มีสรรพคุณทางยาที่หลายขนาน นอกจากที่ให้พลังงานเเละสารอาหารที่มากเเล้ว จากคาร์โบไฮเดรต โปรตีนเเละไขมันจากเนื้อสัตว์เเล้ว สารอาหารจำพวกวิตามินเกลือเเร่ ยังพบมากในผักที่ใส่ลงหม้อเเกงเเค ให้สารเบต้าเเคโรทีน ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระเเละเพิ่มภูมิต้านทานของร่างกาย

 

นอกจากความหอมอร่อยของเเกงเเคที่ได้จากใบชะพลูเเล้วนั้นสิ่งที่ควรระวังคือเวลาปรุงอาหารเมนูนี้คือ ภัยคุกคามการใช้สารเคมีโดยเฉพาะผักสมุนไพรที่ต้องใช้รากหรือเหง้า หากมีสารตกค้างในใั้นก็อาจจะส่งผลโทษมากกว่าคุณ

 

ภาวะโลกร้อน ทำให้เมนู "เเกงเเค" มีเสน่ห์น้อยลง
เราจะปฏิเสธไม่ได้เลยว่าภาวะโลกร้อนที่ส่งผลกระทบในทุกวันนี้ส่งผลกระทบไม่ว่าจะเป็นสัตว์หรือพืช ล้วนได้รับผลกระทบกันทั้งนั้น ทำให้ปัจจุบันผักพื้นบ้านทยอยหายไปเรื่อย ๆ โดยเฉพาะผักริมรั่ว ริมน้ำทั้งหลาย ไม่ว่าจะผักหนาม ผัดกูด ที่มักขึ้นตามริมลำธาร ชื่นชอบความชื่นสูงเเต่หลังจากที่เจอกับภัยเเล้งต่อเนื่องมาหลายปี ทำให้ลดจำนวนลงมาก เเต่ส่วนใหญ่ก็พอจะหาได้ตาดกาดนัดที่มาจากเเลงปลูกของชาวบ้านเเทน

ปัญหาภัยเเล้งที่ทำให้การสูญหายของพืชท้องถิ่นนี้ส่งผลกระทบให้ วัตถุดิบจากธรรมชาตินั้นมีความลดลงไป รสชาติที่ได้จากผักเเต่ละชนิดทั้งเผ็ด ฝาด หวาน ขม เเละความกลกล่อมนั้นหายไป

 

รายการอ้างอิง

รัตนา พรหมพิชัย. (2542). แกงแค. ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ (เล่ม 1, หน้า 475). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.

สาวภา ศักยพันธ์ และยุพยง วิจิตรศิลป์. (2538). อาหารพื้นบ้านภาคเหนือ. เชียงใหม่: ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏเชียงใหม่.

เเกงเเค http://www.thaifoodheritage.com/recipe_list/detail/%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%84

เมื่อภาวะโลกร้อน ทำให้เมนู “แกงแค” มีเสน่ห์น้อยลง

https://greennews.agency/?p=21096

https://www.csitereport.com/#!/newsfeed?id=0000006684

 

 

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้