กัญชา คือ
กัญชา เป็นพืชล้มลุกคล้ายต้นหญ้า มีสารเคมีอยู่ในใบกัญชาชื่อ Cannabinoids ซึ่งมีฤทธิ์สำคัญได้แก่ THC และ CBD ในปัจจุบัน กันชานิยมนำไปใช้อย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็น สเปรย์ น้ำมัน แคปซูล เครื่องพ่นไอระเหยทางการแพทย์ ไปจนถึงการนำมาใส่ในอาหาร และเครื่องดื่มต่างๆ และในทางการแพทย์นั้น กัญชาทุกนำมาใช้ในการรักษาโรคต่างๆ โดยแต่ละรูปแบบของการรักษา ให้ปริมาณความเข้มของสารแคนนาบินอยด์ที่ไม่เหมือนกัน และตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการดูแล
ประโยชน์กัญชา
กัญชามีฤทธิ์สำคัญ2ชนิด คือ THC และ CBD ประโยชน์ของกัญชามีอะไรบ้างนั้น ได้แก่
รูปภาพจาก:https://premierneurologycenter.com/blog/cbd-vs-thc-understanding-the-differences-and-benefits/
Tetrahydrocannabinol (THC)
สาร THC ในขนาดที่เหมาะสมจะมีผลในการลดปวด ลดเกร็งของกล้ามเนื้อ ลดอาการคลื่นไส้ เเต่หากได้รับในขนาดที่สูงจะทำให้เกิดอาการเมาเคลิ้ม ใจสั่น หน้ามืด เห็นภาพหลอน รบกวนการรับรู้การตัดสินใจเเละความจำ
นอกจากนี้การใช้สาร THC ขนาดสูงสม่ำเสมอทำให้เกิดภาวะดื้อต่อสาร (tolerance) ทำให้ต้องมีการเพิ่มขนาดเพื่อให้ได้ผลเท่าเดิมเเละเกิดการติดยาได้
Cannabidiol (CBD)
สาร CBD เป็นสารที่มีฤทธิ์ต้านอาการเมาเคลิ้มเเละอาการทางจิตของ THC มีการใช้สาร CBD เพื่อควบคุมอาการชักเเละอาการปวด สาร CBD ยังไม่พบว่าทำให้เกิดการดื้อยาหรือติด
สรรพคุณ ของกัญชา คุณสมบัติกัญชา มีอะไรบ้าง
- ช่วยให้เจริญอาหาร
- ช่วยผ่อนคลาย ทำให้อารมณ์ดีมากขึ้น
- นอนหลับง่าย
- ลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน
- บรรเทาอาการปวดเรื้อรัง
- ต่อต้านอาการซึมเศร้า
- ยับยั้งเซลล์มะเร็ง
อาการติดกัญชา
- เวลาที่คุณเครียด หรือมีปัญหาไม่สบายใจ คุณจะใช้แต่กัญชา เพื่อบรรเทาความเครียด วิตกกังวล
- พยายามหลีกเหลี่ยงการใช้กัญชาแล้ว แต่ก็ไม่สามารถทำได้สำเร็จ
- หมกมุ่นโหยหาแต่กัญชา จนไม่สามารถมีสมาธิในการทำกิจกรรมอื่นๆได้
- มีความรู้สึกต้องการใช้กันชาเพิ่มตลอดเวลา
รูปภาพจาก:https://www.freepik.com/
ข้อดี ข้อเสียของกัญชา
- ข้อดีของกัญชา
หากคุณกำลังเบื่ออาหาร มีความอยากอาหารน้อยลง การรับประทานกันชาสามารถช่วยให้คุณมีความอยากอาหารมากขึ้น
- รู้สึกไม่สบาย มีอาการวิงเวียนหัวคลื่นไส้อาเจียน การรับประทานกันชาสามารถบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน
- ในใบกัญชามีสาร Cannabinoids หากผู้ที่มีอาการซึมเศร้าได้สารรับตัวนี้ สามารถลดพฤติกรรมรุนแรงทางด้านอารมณ์ลงได้
- ในงานวิจัยได้ค้นพบว่า สาร THC ที่อยู่ในใบกัญชาสามารถป้องกันโรคอัลไซเมอร์
- กัญชาทำให้เนื้องอกเนื้อร้ายอย่างมะเร็งหดเหี่ยวลดลงได้
ผู้ที่นอนไม่ค่อยหลับ การรับประทานกัญชาจะช่วยให้คุณหลับสบายมากขึ้น
ข้อเสียของกัญชา
- เนื่องจากกัญชามีฤทธิ์กระตุ้นประสาท หากผู้เสพใช้ในปริมาณที่มากเกินไป อาจทำให้ผู้เสพมีอาการมึนเมาคล้ายเหล้า เห็นภาพหล่อน หูแวว หวาดระแวง ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้
- ผู้ป่วยที่มีอาการทางจิต ไม่ควรเสพกัญชา เพราะจะส่งผลให้เกิดความสับสน วิตกกังวล สมาธิสั้น จนถึงขั้นเสียการทรงตัว
- การเสพกัญชาในปริมาณและติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ส่งผลให้ร่างกายของคุณเสื่อมโทรมและอาจก่อให้เกิดโรคได้ง่ายขึ้น เช่น โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง น้ำหนักตัวลดลง ซูบผอม
- กัญชายังทำให้ปริมาณอสุจิในเพศชายลดน้อยลง เพราะมีฤทธิ์ที่ส่งผลต่อฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนของเพศชาย
- การสูบกัญชาในปริมาณ 4 ม้วน เทียบเท่ากับการสูบบุหรี่ 1 ซอง และยังมีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้มากกว่าคนสูบบุหรี่สูงถึง 5 เท่า
กัญชารักษาโรคอะไรได้บ้าง
- กัญชารักษาโรคภาวะคลื่นไส้/อาเจียนจากยาเคมีบำบัด
- กัญชารักษาโรคภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งในผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
- กัญชารักษาโรคลมชักที่รักษายาก และโรคลมชักที่ดื้อต่อยารักษา
- กัญชารักษาโรคอัลไซเมอร์
- กัญชารักษาโรคพาร์กินสัน
- กัญชารักษาโรคผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มน้ำ
- กัญชารักษาโรคภาวะนอนไม่หลับ
- กัญชารักษาโรควิตกกังวล (Anxiety disorder)
รูปภาพจาก:https://www.thairath.co.th/lifestyle/health-and-beauty/2143970
ประโยชน์ของน้ำมันกัญชา
- รักษาอาการชัก
- ช่วยบำรุงหัวใจ
- ยับยั้งความเจ็บปวด ความอักเสบ
- บรรเทาอาการปวดข้อ อาการปวดเรื้อรัง
- คลายเครียด ลดความวิตกกังวลที่มีผลกระทบทางจิตใจให้บรรเทาลงได้
สรรพคุณ น้ำมันกัญชา
- รักษาแผลสด
- รักษาสิว หรือผิวหน้าที่มีผื่นแดง
- รักษาแผลหายยากจากโรคเบาหวาน
- บรรเทาอาการปวดเรื้อรัง
- คลายความเครียด อาการวิตกกังวล
น้ำมันกัญชา แก้โรคอะไร
- โรคลูคีเมีย
- โรคผิวหนังกลากเกลื้อน
- โรคลมชักที่ที่ดื้อต่อยารักษา
- โรคบิด แก้ปวดท้อง และโรคท้องร่วง
- โรคกล้ามเนื้อหดเกร็งในผู้ป่วยปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
- โรคภาวะคลื่นไส้อาเจียน สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด
- โรคท้องร่วง โรคบิด และแก้ปวดท้อง
- ผู้ที่มีภาวะเบื่ออาหาร
- ผู้ป่วยเอดส์ที่มีน้ำหนักตัวน้อย
- ผู้ป่วยที่มีอาการปวดเรื้อรัง ปวดประสาทส่วนกลาง ที่ลองใช้วิธีการรักษาอื่น ๆ แล้วแต่ยังไม่ได้ผล
การใช้กัญชาทางการแพทย์ถือเป็นยาใหม่และไม่ใช่ยาครอบจักรวาล ดังนั้นต้องใช้อย่างระมัดระวังควรศึกษาข้อมูลต่าง ๆ ให้ครบถ้วนอย่างเข้าใจ เพื่อประสิทธิภาพที่ดีควรเข้ารับการปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินภาวะสุขภาพเบื้องต้นคัดกรองข้อห้ามและข้อควรระวังต่างๆ ควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์อย่างเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย
เเหล่งอ้างอิง:กัญชาทางการเเพทย์ โดย โรงพยาบาลบีเอ็นเอ็ช https://www.bnhhospital.com/th/medical_cannabis
เเหล่งอ้างอิง:กัญชาทางการแพทย์ ทางเลือกเพื่อช่วยผ่อนคลาย โดย โรงพยาบาลยันฮี
https://th.yanhee.net/%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%96%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3/%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%8C-%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2/
เเหล่งอ้างอิง: CBD vs. THC: Understanding the Differences and Benefits by premiern eurology center
https://premierneurologycenter.com/blog/cbd-vs-thc-understanding-the-differences-and-benefits/
เเหล่งอ้างอิง: สังคมไทยทางไปของกัญชา โดย ผศ.นพ.สหภูมิ ศรีสุมะ