Last updated: 11 มิ.ย. 2567 | 67 จำนวนผู้เข้าชม |
ช่วงฤดูฝนในประเทศไทยเป็นช่วงที่เห็ดมีการเจริญเติบโตดี หาได้ง่าย จึงเป็นช่วงที่คนนิยมเก็บเห็ดมารับประทาน อย่างไรก็ตามเห็ดหลายชนิดมีพิษที่หากรับประทานเข้าไปแล้วอาจเกิดอันตรายถึงชีวิต โดยเห็ดพิษนั้นมีหลายกลุ่มและมีอาการเกิดพิษแตกต่างกันไป ที่พบได้ในประเทศไทย เช่น
รูปภาพจาก: เพจ เห็ดป่า บูรณาการความรู้ (เห็ดระโงกหิน)
กลุ่มที่มีสารพิษ Cyclopeptide เช่น เห็ดระโงกหิน เห็ดไข่ตายซาก
รูปภาพจาก: ศูนย์เรียนรู้ บ้านเห็ดอุตรดิตถ์ไบโอเทค (เห็ดไข่เน่า)
กลุ่มที่สร้างสารพิษต่อระบบทางเดินอาหาร มีหลายชนิด เช่น เห็ดหัวกรวดครีบเขียว เห็ดกรวยเกล็ดทอง เห็ดแดงน้ำหมาก
รูปภาพจาก: สำรวจโลก (เห็ดอะมานิต้า)
กลุ่มที่มีสารพิษ Ibotenic acid และ Muscimol เช่น เห็ดในตระกูลอะมานิต้าบางชนิด
รูปภาพจาก: มติชนสุดสัปดาห์ (เห็ดขี้ควาย)
กลุ่มที่มีสารพิษ Psilocin และ Psilocybin เช่น เห็ดขี้ควายหรือเห็ดโอสถลวงจิต เห็ดขอนเกล็ดสีแดง
รูปภาพจาก: wikimedia (เห็ดน้ำหมึก)
กลุ่มที่มีสารพิษ Coprine เช่น เห็ดหิ่งห้อย เห็ดน้ำหมึก
รูปภาพจาก: ESG universel เห็ดพิษ!! ภัยที่มากับหน้าฝน (เห็ดสมองวัว)
กลุ่มที่สร้างสารพิษ Monomethylhydrazine เช่น เห็ดสมองวัว
ข้อควรปฏิบัติในการรับประทานเห็ด
ไม่ควรเก็บเห็ดมารับประทานเอง แต่ควรซื้อจากแหล่งที่เชื่อถือได้ คือแหล่งที่มีการเพาะเห็ดเอง และทราบถึงชนิดของเห็ดแน่ชัด สำหรับการรับประทานเห็ดที่ไม่ใช่เห็ดพิษ ควรทำความสะอาดก่อนรับประทานด้วยน้ำสะอาดหลายน้ำ
เเหล่งข้อมูล: เห็ดพิษ…อันตรายถึงชีวิต ถ้าทานผิดโดยไม่ระวัง !!! โดย โรงพยาบาลสินเเพทย์
เเหล่งข้อมูล: ระวัง "เห็ดพิษ" ช่วงฤดูฝน เสี่ยงรับประทานอาจถึงชีวิต โดย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล
เเหล่งข้อมูล: 4 เห็ดพิษอันตราย ในหน้าฝน โดย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
31 ต.ค. 2567
15 พ.ย. 2567
4 พ.ย. 2567